สละลอยแก้ว


Waive fruit in syrup

       ความเป็นมาของบริษัท
     บริษัท สระลอยแก้ว จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2559 เป็นบริษัทขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในจังหวัดชุมพร    จัดตั้งขึ้นเพื่อทำการผลิตและจัดจำหน่ายสละลอยแก้วด้วยเจตนารมณ์ที่มุ้งเน้นในการที่จะผลิตของแปรรูปที่มีคุณภาพสูงให้กับผู้บริโภค 
       สละลอยแก้ว เป็นผลิตภัณฑ์ของผลสละด้วยแปรรูปสละสดให้อยู่ในรูปของสละในน้ำเชื่อมหรือที่เรียกว่า สละลอยแก้ว ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการเก็บรักษา และเพิ่มมูลค่าให้กับสละในช่วงที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก พันธุ์สละที่นิยมนำมาแปรรูป ได้แก่ สละพันธ์เนินวงศ์ เนื่องด้วยมีเนื้อหนา รสชาติหวาน และมีกลิ่นหอม สละลอยแก้ว ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่นิยมผลิตมากในช่วงฤดูเก็บผลสละโดยเฉพาะในบางปีที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ทำให้สละมีราคาถูก ดังนั้นการนำสละมาแปรรูปจึงเป็นแนวทางที่ช่วยเพิ่มมูลค่าสละได้เป็นอย่างดี 
       บริษัท สละลอยแก้ว จำกัด มีแผนกการทำงานรวมทั้งสิ้น 6 แผนก ได้แก่ ฝ่ายการผลิต , ฝ่ายการขาย , ฝ่ายบัญชี , ฝ่ายคลังสินค้า , ฝ่ายจัดส่งสินค้า และฝ่ายจัดซื้อสิ้นค้า

โครงสร้างองค์การ






ภารกิจหลักของบริษัท
1. ทำให้ลูกค้าได้บริโภคสละลอยแก้ว ที่สะอาดและถูกหลักอนามัยที่สุด
2. ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในด้านการบริการมากที่สุด

วัตถุประสงค์ของบริษัท
1. มีการผลิตที่รวดเร็ว และสะอาดปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
2. มีการมุ่งพัฒนาภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดอบรมและเสริมความรู้ทางด้านการผลิตและการบริการในทุกๆเดือน
3. มีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
เป้าหมายของบริษัท
มุ้งเน้นในด้านกำไร  และส่งเสริมให้คนทั่วไปมีรายได้เสริม
ความหมายและปัญหาของแต่ละฝ่าย
1. ฝ่ายผลิต มีหน้าที่
>>  การผลิต (Production) เป็นกระบวนการแปรรูปทรัพยากรการผลิต เช่น วัตถุดิบ แรงง่น และพลังงาน ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมในการจัดจำหน่ายแก่ลูกค้า โดยผู้ผลิตต้องพยากรณ์ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า โดยไม่ให้มีจำนวนมากหรือน้อยเกินไป ตลอดจนควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม ปัจจุบันการขยายตัวของธุรกิจ จากการผลิตเข้าสู่สังคมบริการ ทำให้มีการประยุกต์หลักการของการจัดการผลิตกับงานด้านบริการ ซึ่งเราจะเรียกการผลิตในหน่วยบริการว่า "การดำเนินงาน" (Operations) 
ปัญหาฝ่ายการผลิต
>>  การสินค้าไม่ทันกำหนดการจัดส่ง
>>  สินค้าไม่ครบตามจำนวนที่สั่งซื้อแผนกจัดซื้อ

2. ฝ่ายขาย มีหน้าที่ 
>>  ขายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ดูแลฐานลูกค้าเดิมและขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ เพื่อทำการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้บริษัท โดยฝ่ายขายจะมีการเก็บข้อมูลของลูกค้าที่มาซื้อทั้งหมดอีกทั้งข้อมูลสินค้าที่ขาย
>>  สำรวจความพึงพอใจองลูกค้า
>>  บริการจัดจำหน่ายสินค้าให้แก่ลูกค้า โดยจะมีการจัดเก็บข้อมูลของลูกค้า อธิบายรายละเอียดสินค้าที่ลูกค้าสนใจ และข้อมูลหลังการขายของลูกค้า

ปัญหาฝ่ายขาย
>>  การค้นหาเอกสารอาจจะยาก เพราะ เอกสารมีจำนวนมาก
>>  ข้อมูลของลูกค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์
>>  ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้แข่งขัน (Competitor) ทำให้เสียเปรียบในการแข่งขัน
3. ฝ่ายบัญชี มีหน้าที่ 
>>  จัดการเรื่องการเงินและจัดทำบัญชีของบริษัทพร้อมทั้งทำรางานงบการเงินเสนอผู้บริหารโดยผู้รบผิดชอบสั่งซื้อจากแผนกการเงิน
และจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายให้กับบริษัท
ปัญหาฝ่ายบัญชี
>>  การค้นหาเอกสารระหว่างการทำงาน หรือการค้นหา้อนหลังอาจล่าช้า
>>  อาจเกิดการผิดพลาดในการคิดคำนวณรายรับ-รายจ่าย
>>  การตรวจสอบเกี่ยวกับข้อมูลทางการเงินทำได้ล่าช้า และไม่สะดวกรวดเร็ว
4. ฝ่ายคลังสินค้า  มีหน้าที่ 
>>  ตรวจสอบสินค้าและรับข้อมูลการสั่งซื้อ จากแผนกขายสินค้าเพื่อส่งไปยัแผนกส่งสินค้า
>>  ดูแลการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ และรักษาสินค้าสำเร็จรูป รับผิดชอบการเบิกจ่ายสินค้าสำเร็จรูปเมื่อเคลื่อนย้ายสินค้าออกนอกบริเวณโรงงาน
ปัญหาฝ่ายคลังสินค้า
>>  เอกสารมีจำนวนมากเนื่องจากสินค้ามีหลายราคา
>>  ใช้เวลาตรวจสอบสินค้าคงเหลือเป็นเวลานาน
>>  ข้อมูลสินค้าสูญหายทำให้จำนวนสินค้าภายในคลังสินค้าอาจไม่พอ หรือว่ามีจำนวนสินค้ามากเกินไป เนื่องจากไม่สามารถเช็คได้ว่าในคลังสินค้ามีจำนวนสินค้าเท่าไหร่
5. ฝ่ายจัดส่งสินค้า  มีหน้าที่ 
>>  จัดส่งสินค้าไปให้ลูกค้า หรือผู้บริโภค โดยรับสินค้าจากฝ่ายคลังสินค้า
ปัญหาฝ่ายจัดส่งสินค้า
>>  เอกสารข้อมูลสินค้ามีจำนวนมาก เนื่องจากสินค้ามีหลายขนาด และหลายราคา ทำให้จัดการเอกสารไม่เป็นระเบียบ
>>  เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร เพราะ เอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
>>  ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมาก และยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
>>  ถ้าขอมูลสูญหายจะทำให้ไม่สามารถไปจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้ อาจทำให้ลูกค้าไม่พอใจ
ฝ่ายจัดซื้อสินค้า  มีหน้าที่
>>  บริหารการซื้อสินค้า หรือบริการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร
ปัญหาฝ่ายจัดซื้อสินค้า
>>  ตรวจสอบสินค้าในคลังยาก ว่ามีสินค้าคงเหลือเท่าไร ต้องสั่งซื้อเพิ่มอีกเท่าไร
>>  เช็คยอดการเบิกจ่ายสินค้าในคลังยาก
>>  วัตถุดิบบางตัวมีราคาค่อนข้างสูงทำให้ไม่ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้เสี่ยงต่อการเสียหายได้ง่าย
ปัญหาระหว่างแผนก/ฝ่าย
ฝ่ายการผลิต - ฝ่ายจัดซื้อสินค้า
>>  วัตถุดิบในการผลิตล่าช้าทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าขาดตลาด
ฝ่ายบัญชี - ฝ่ายการขาย
>>  ถ้าการขายแจ้งยอดการสั่งซื้อสินค้า หรือยอดขายสินค้าไม่ถูกต้อง จะทำให้ฝ่ายบัญชีเกิดความผิดพลาดไปด้วย
>>  ฝ่ายบัญชีไม่สามารถประเมินยอดขายทั้งหมดได้ และสรุปยอดทั้งหมดได้เนื่องจากฝ่ายขายไม่ส่งยอดมาให้
>>  ฝ่ายบัญชีจะทำยอดบัญชีผิดหากการขายส่งยอดมาผิด
>>  ฝ่ายขายสรุปยอดไม่ตรงกับรายได้ที่ขายไป จึงทำให้ฝ่ายบัญชีสรุปงบประมาณไม่ตรงกัน
ฝ่ายจัดซื้อสินค้า - ฝ่ายการผลิต
>>  รายการสินค้าอาจตกหล่นหาย ไม่สามารถจัดซื้อของตามรายการได้
ฝ่ายการผลิต - ฝ่ายคลังสินค้า
>>  ไม่รู้จำนวนสินค้าว่าเหลือมาก น้อยเพียงใด
ฝ่ายคลังสินค้า - ฝ่ายการผลิต
>>  ปัญหาการจัดเก็บสินค้า การเคลื่อนย้ายสินค้า 
ฝ่ายการผลิต - ฝ่ายจัดส่งสินค้า
>>  ไม่รู้จำนวนสินค้าที่ส่งออกไปแล้ว
ฝ่ายการผลิต - ฝ่ายขาย
>>  รายการสินค้าที่มาจากฝ่ายการขายเกิดความล่าช้าไม่ชัดเจน
>>  อาจมีรายการสินค้าตกหล่นไม่ชัดเจน
ฝ่ายการบัญชี - ฝ่ายจัดส่งสินค้า
>>  ถ้าฝ่ายคลังสินค้าไม่แจ้งยอดให้ฝ่ายบัญชีก็ไม่สามารถทำงบการเงินได้ เพราะต้องทราบยอดสินค้าและสินค้าคงเหลือแต่ละงวด
สรุปปัญหาทั้งหมด
>>  เอกสารมีจำนวนมากทำให้จัดเก็บไม่เป็นระเบียบ และเสี่ยงต่อการสูญหายได้ง่าย
>>  การค้นเอกสารระหว่างการทำงาน หรือการค้นหาย้อนหลังทำได้ยาก เนื่องจากเอกสารมากทำให้เสียเวลา
>>  การสรุปรายรับ - รายจ่าย มีความผิดพลาดบ่อยครั้ง
>>  เสี่ยงต่อการปลอมแปลงเอกสาร
>>  หากมีการทำรายการผลิตผิดพลาดจะก่อให้เกิดความเสียหาย
>>  ไม่สามารถรู้เวลาเข้า - ออกของพนักงานที่แท้จริง
 >>  การสืบค้นประวัติ และแก้ไขประวัติของพนักงานทำได้ยาก
>>  การจัดสรรเงินเดือนทำได้ยาก เนื่องจากพนักงานแต่ละคนมีเงินเดือนไม่เท่ากัน และแบ่งโบนัสของแต่ละคนลำบาก 
>>  ตรวจสอบยอดขายสินค้าหรือเช็คย้อนหลังทำได้ยาก
>>  ข้อมูลอาจเกิดความซับซ้อนเนื่องจากลูกค้ามีหลายคนทำให้ไม่ทราบว่าจัดรายละเอียดลูกค้าไปแล้วหรือไม่
>>  ตรวจสอบสินค้าในคลังได้ยากว่ามีสินค้าคงเหลือเท่าไรต้องสั่งซื้อเพิ่มอีกเท่าไร
>>  เช็คยอดการเบิกจ่ายสินค้าในคลังได้ยาก
>>  หากเบิกสินค้าไม่ถูกต้อง อาจก่อให้เกิดความเสียหาย
>>  ในการสั่งซื้อสินค้าอาจได้รับสินค้าได้ไม่ตรงตามความต้องการ
>>  ปัญหาการจัดเก็บสินค้า การเคลื่อนย้ายจากฝ่ายผลิตไปยังคลัง
>>  ระยะเวลาในการจัดส่งสินค้า อาจใช้เวลานาน เพราะต้องมีการค้นหาข้อมูลลูกค้าก่อน
>>  สินค้าจัดซื้อไม่ตรงตามต้องการ
>>  สั่งสินค้าแล้วมาไม่ตรงกำหนดการ
ปัญหาและความเกี่ยวข้องกับระบบ



ระบบงานที่ต้องพัฒนา
1. ระบบบัญชี เพราะต้องการระบบที่จัดเก็บข้อมูลที่เป็นระเบียบถูกต้องและแม่นยำ
2.  ระบบคลังสินค้า เพราะเป็นระบบที่ต้องมีการตรวจสอบสินค้าอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
3.  ระบบการขาย เพราะ เป็นระบบทีเกี่ยวข้องกับลูกค้า ระบบนี้ควรถูกพัฒนามาให้ใช้งานง่าย สะดวกทั้งในการจัดเก็บและค้นหา
การประเมินความต้องการองบริษัท
ตารางการแสดงรายการทำงาน (Functions) ทางธุรกิจทางบริษัท

แสดงการจำแนกกิจกรรม(Activates)ของหน้าที่การทำงาน(Function) ในบริษัท






























แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
Function-to-Data Entities




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น